WordPress vs Webflow: เลือกยังไงให้เหมาะกับเว็บธุรกิจของคุณ

Website
April 15, 2024
Written for you by
C. Chinnakrit, Chief Operation Officer

สารบัญ

การเลือก CMS ระหว่าง WordPress และ Webflow เป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่น่าหนักใจที่สุดสำหรับการสร้างเว็บไซต์บริษัทเลย เพราะการเลือก CMS ที่ใช่อาจจะดูเหมือนงานหินสักหน่อย ถ้าคุณไม่เข้าใจจริง ๆ ว่ามันต่างกันอย่างไร จะหนีเสือปะจระเข้หรือเปล่า กลัวในอนาคตไม่วายจะต้องมาเสียงบทำใหม่นี่สิ แต่ไม่ต้องห่วงครับ! เดี๋ยวผมจะมาอธิบายให้ฟังซึ่งรับรองว่าเมื่ออ่านจบแล้ว คุณจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าแพลตฟอร์มไหนเหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายเฉพาะของคุณที่สุด

โน้ตจากผู้เขียน: เราขอแจ้งคุณก่อนเลยครับว่า เราใช้ WordPress ในการทำเว็บไซต์ให้ลูกค้า แต่วันนี้เราไม่ได้มาเล่าให้ฟังแบบลำเอียง ตรงกันข้ามเลยครับ เรามองว่าการที่ WordPress มี Webflow เป็นคู่แข่งที่มีความสามารถคล้ายกัน เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นการแข่งขันที่ผู้บริโภคมีแต่ได้ครับ เราจะพยายามเปรียบเทียบจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละตัวด้วยการใช้งานจริงซึ่งเราจะมีการออกความเห็นถึงสิ่งที่เรามองเป็นระยะ ๆ ยังไงก็ตามแต่การเลือกตัวใดตัวหนึ่งในในทั้งคู่ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ

ชินกฤต – COO, Care Digital

CMS คืออะไรและทำไมถึงสำคัญขนาดนั้น

CMS หรือ Content Management System เป็นศัพท์ยอดฮิตของการทำเว็บไซต์ที่คุณอาจเคยได้ยิน การทำเว็บไซต์นั้น ภายหลังจากที่เราดีไซน์และพัฒนาเว็บไซต์หน้าบ้านที่สวยงามแล้ว มันก็ถึงเวลาที่ต้องใช้งานถูกไหมครับ? ถ้าเราจะลงคอนเทนต์แต่หลังบ้านเราไม่มีและต้องลงโดยการเขียนโค้ดมันก็คงไม่สะดวก หากคุณมีระบบหลังบ้านเป็นระบบ CMS คุณก็จะลงคอนเทนต์ได้โดยง่ายเหมือนเวลาพิมพ์งานลอง Microsoft Word ครับ

ความสำคัญของ CMS จึงเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเว็บไซต์ที่ทำให้ฝ่ายการตลาดไม่ต้องมานั่งเรียนโปรแกรมมิ่งเพื่อลงคอนเทนต์แต่ละครั้ง งั้นเราลองมาเปิดตัว 2 ผู้ท้าชิงกันดีกว่าครับว่า แต่ละฝ่ายมีจุดแข็งอะไรกันบ้าง ระหว่างมุมแดง WordPress ผู้เชี่ยวชาญที่ครองใจมานาน กับมุมน้ำเงิน Webflow ดาวรุ่งที่กำลังมาแรงในการพัฒนาเว็บแบบวิชวล

WordPress: ปรมาจารย์เว็บไซต์และ CMS ผู้เก๋าเกม

WordPress อยู่คู่วงการมาตั้งแต่ปี 2003 และค่อย ๆ วิวัฒนาการจากแพลตฟอร์มบล็อกธรรมดา ๆ กลายเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ขับเคลื่อนเว็บไซต์กว่า 43% บนอินเทอร์เน็ตได้ในปัจจุบัน ส่วนแบ่งการตลาดที่น่าประทับใจนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเป็นซอฟต์แวร์แบบ open-source หรือซอฟต์แวร์เปิดสาธารณะที่ทำให้มีชุมชนนักพัฒนา นักออกแบบ และผู้ใช้ทั่วโลกคอยช่วยกันปรับปรุงแพลตฟอร์มอยู่เสมอ (ไม่ได้เป็นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง) สำหรับบริษัทของคุณแล้ว นี่เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งครับ เพราะหมายความว่าแผนก IT มีทรัพยากร, Documentation และบทเรียนเกี่ยวกับ WordPress ที่หาดูได้ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ต (เช่น Youtube) และหากจะหานักพัฒนามารับช่วงต่อ มันก็หาได้ง่ายเหมือนโบกวินมอเตอร์ไซค์!

แนวคิด Open-Source และขับเคลื่อนการพัฒนาโดยสาธารณะ

Cinematic image of a conference meeting.

อย่างที่กล่าวไป หนึ่งในข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของ WordPress คือการเป็น open-source ซึ่งแปลว่าชุมชนนักพัฒนา นักออกแบบ และผู้ใช้ทั่วโลกต่างก็ช่วยกันพัฒนาแพลตฟอร์มให้ดีขึ้นอยู่เสมอครับ มีคนทำ Plugin หรือส่วนขยายมากมายที่คุณสามารถติดตั้งลงบน WordPress คุณได้ไม่กี่คลิกและเพิ่มฟังค์ชั่นแบบไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์มาทำในราคาหลักหมื่นถึงแสน

อีกข้อที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ คุณอาจจะกำลังคิดว่าการที่เปิดสาธารณะแบบนี้ แฮ็คเกอร์ก็จะสามารถมาดูโค้ดและจ้องเล่นงานได้ ความจริงคือตรงกันข้ามครับ เพราะจำนวนคนที่คอยดูช่องโหว่หรือคนทำ Security Audit มันมากกว่าผู้ไม่ประสงค์ดีเหล่านั้นครับ และผลพลอยได้คือการเกิดความโปร่งใสด้านความปลอดภัยเพราะมีคนคอยแจ้งช่องโหว่ตลอดนั่นเอง ต่างจากการพัฒนาแบบปิดโดยบริษัทเดียว หากมีช่องโหว่ ส่วนใหญ่เขาไม่แจ้งครับเพราะมันเป็นการเสียชื่อเสียงนั่นเอง คุณเลยอาจจะได้ยินเรื่องช่องโหว่น้อยกว่า WordPress ยกเว้นโดนจับโป๊ะครับ

ความยืดหยุ่นและการปรับแต่ง

จุดเด่นที่ใหญ่ที่สุดอีกอย่างของ WordPress คือความยืดหยุ่นที่ไม่มีใครเทียบได้ ด้วยธีมและปลั๊กอินนับพัน คุณสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงกับแบรนด์และทำได้ทุกฟังก์ชันที่คุณต้องการ ไม่ว่าคุณจะกำลังสร้างเว็บไซต์โบรชัวร์ธรรมดา ๆ หรือแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่ซับซ้อน WordPress ก็ตอบโจทย์ได้หมดครับ

Webflow: ดาวรุ่งพุ่งแรงวงการทำเว็บ

Webflow ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 แพลตฟอร์มนี้ใช้แนวทางต่างออกไปโดยเน้นไปที่การออกแบบและการพัฒนา Low-Code คือไม่ต้องมีความรู้เรื่องการ Code เยอะก็ใช้ได้ มีรูปแบบการใช้งานแบบลากวางได้เลย เหมาะกับดีไซเนอร์ที่ไม่รู้เรื่องโปรแกรมมิ่งก็ใช้ได้ ทำให้คุณสามารถจัดเรียง Layout ของเว็บไซต์ได้โดยตรงและเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบเรียลไทม์

Builder เว็บไซต์ที่มีฟีเจอร์ครบครัน

ถึงแม้ Webflow จะมีฟีเจอร์แบบลากวางได้โดยไม่ต้องรู้โค้ด (Drag and Drop) แต่ถ้าคุณอยากลงลึกเรื่องการ Code ก็ทำได้ครับ เพราะมีฟังก์ชั่น Custom Code รองรับและมี Animation Library มาพร้อมเลย อยากจะทำอนิเมชั่นอะไรก็ไม่ต้องไปหา JS Library ติดให้ยากครับ พร้อมใช้ทันที

โฮสติ้งและการดูแลรักษารวมอยู่ในตัว

Technician team working at electronics repair shop

อีกหนึ่งข้อดีใหญ่ ๆ ของ Webflow คือการเป็นแพลตฟอร์ม Software-as-a-Service (SaaS) นั่นหมายความว่าคุณไม่ต้องกังวลเรื่องการหาโฮสติ้งที่แยกออกมาหรือการจัดการอัปเดตและความปลอดภัยด้วยตัวเอง Webflow จัดการสิ่งเหล่านั้นให้คุณหมด ทำให้คุณมีเวลามากขึ้นที่จะโฟกัสกับธุรกิจ ไม่ต้องมีรายจ่ายการจ้างแอดมินมาคอยดูแลให้นั่นเอง

ความแตกต่างระหว่าง WordPress และ Webflow

เลือกดูตามหัวข้อที่สนใจได้จากสารบัญด้านบนของบทความได้เลยนะครับ กดที่นี่

คุณสมบัติด้านการพัฒนาเว็บไซต์ (Website Development)

WordPress Bricks Builder
เครดิตภาพ: https://bricksbuilder.io/builder/
  • WordPress: Ecosystem คือจุดที่ WordPress เด่นที่สุด ถ้าคุณกังวลว่า “ต้องการฟีเจอร์เพิ่ม WordPress จะมีไหมนะ” คำตอบคือ WordPress น่าจะมีปลั๊กอินสำหรับฟีเจอร์นั้นแล้ว แถมยังมีธีมให้เลือกเยอะมากด้วย คุณสามารถปรับแต่งหน้าตาตามแบรนดิ้งของไซต์ได้อย่างง่ายดาย และถ้าคุณมีทักษะเขียนโค้ด (หรือจ้างคนทำเว็บไซต์) คุณก็สามารถพัฒนาเว็บเป็นอะไรก็ได้ตามที่คุณจะจินตนาการเลยครับ แถมคุณยังสามารถเลือก Site Builder Plugin ที่มีให้เลือกเกินกว่า 10 ตัวอีก (นับเฉพาะ Builder ที่น่าเชื่อถือและสร้างออกมาได้ดีอย่าง Elementor, Bricks Builder, GeneratePress, Beaver Builder, Breakdance และอื่น ๆ)
  • Webflow: ให้ความสำคัญกับการออกแบบและการพัฒนาลากวาง ซึ่งทำให้คุณสามารถทำให้เว็บไซต์ออกมาเป๊ะตามที่ต้องการได้ง่ายสุด ๆ และอัดแน่นฟีเจอร์ที่คุณน่าจะไม่ต้องไปตามหาที่ไหนอีก แต่คุณอาจเจอข้อจำกัดถ้าคุณมีความต้องการฟังก์ชันเฉพาะทางหรือฟังค์ชั่นจาก Framework หรือ Software อื่น มันก็จะเอามาติดใน Webflow ไม่ได้ครับเนื่องจากเป็นแบบ closed-source (Proprietary SaaS)
  • สรุป:
    • เลือก WordPress สำหรับคนชอบออปชั่นการพัฒนาไม่จำกัด
    • เลือก Webflow ถ้าอยากจบพร้อมใช้เลย ไม่ต้องหาเพิ่ม

ฟีเจอร์ด้านเว็บไซต์อนิเมชั่น (Website Animation)

  • WordPress: การเพิ่ม Animation ขั้นสูงให้กับเว็บไซต์ WordPress มักจะต้องใช้ปลั๊กอินเพิ่มเติมหรือการเขียนโค้ดขึ้นเองซึ่งเพิ่มความซับซ้อนและอาจจำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคบ้าง ส่วนจะเอา JS Library อะไรมาติดตั้งก็ตามแต่ที่ต้องการเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น GSAP, Motion.one, Framer Motion หรือ Rive
  • Webflow: หนึ่งในฟีเจอร์เด่น ๆ ของ Webflow คือความสามารถด้านแอนิเมชันในตัว คุณสามารถสร้างอนิเมชั่นที่ลื่นไหล, สร้าง Interactive Element และทั้งหมดนี้ทำได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดสักบรรทัด คุณก็สามารถยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้บนเว็บไซต์ของคุณได้โดยง่ายเลยครับ
  • สรุป:
    • เลือก WordPress สำหรับคนที่มีอนิเมชั่นที่ชอบในใจ
    • เลือก Webflow ถ้าอยากจบพร้อมใช้เลย ไม่ต้องหาเพิ่ม

การดูแลเว็บไซต์

Maintenance Team Repairing Industrial Robotic Arm
  • WordPress: การดูแลไซต์ WordPress จำเป็นต้องอัปเดตซอฟต์แวร์หลัก ปลั๊กอิน และธีมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทุกอย่างทำงานลื่นไหลและปลอดภัย อาจจะปวดหัวหน่อยถ้าคุณไม่ถนัดด้านเทคนิค และบางครั้งการอัปเดตก็อาจทำให้เกิดปัญหาจนต้องแก้ไขหากไม่ได้ดูแลโดยผู้ชำนาญ
  • Webflow: เนื่องจาก Webflow เป็นแพลตฟอร์มแบบจัดการให้เสร็จสรรพ ทาง Webflow จึงดูแลการอัปเดตและการแพตช์ด้านความปลอดภัยให้หมด ซึ่งทำให้คุณเบางานลงมากและไม่ต้องจากคนมาคอยดูแลให้ประจำแลกกับค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม ข้อเสียคงเป็นเรื่องหากเกิดปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข คุณก็ต้องติดต่อทาง Webflow ให้จัดการให้ ทีนี้ซึ่งการเสียงตอบรับบน Trustpilot เว็บรีวิวบริการชื่อดังที่ 2.1/5 คะแนนครับ กดที่นี่เพื่อดูรีวิวทั้งหมดบน Trustpilot
  • สรุป:
    • เลือก WordPress สำหรับผู้มีงบประมาณ (อารมณ์จ่ายค่าเช่าบ้าน)
    • เลือก Webflow ถ้าอยากมีคนดูแลให้เลย (ส่วนเรื่องคุณภาพ พิจารณาจากรีวิวอีกที)

ความปลอดภัยของเว็บไซต์และผู้ใช้งาน

Digital security
  • WordPress: เนื่องจากความนิยม WordPress จึงมักตกเป็นเป้าหมายของแฮ็กเกอร์และผู้ไม่หวังดีซึ่งส่วนใหญ่หากดูแลสม่ำเสมอและมาตรการด้านความปลอดภัยเว็บไซต์ที่ดีก็หายห่วงครับ ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วกันในหมู่นักพัฒนาครับว่า ตัว WordPress Core ปลอดภัยมาก หากมีช่องโหว่ก็จะมีการอุดด้วยอัปเดตอย่างไว ส่วนใหญ่ที่โดนแฮ็คเพราะลงปลั๊กอินไม่ดีรวมถึงไม่อัปเดตครับ เรามีการอัปเดตช่องโหว่ใหญ่ ๆ อยู่เสมอในบล็อกของเรา ลองอ่านแต่ละอันและประเมินความน่ากลัวดูได้ครับ ส่วนใหญ่จะมีอัปเดตป้องกันแล้ว ด้วยลักษณะ open-source มันตามมาพร้อมข้อดี-ข้อเสียดังนี้ครับ
    • ข้อดี
      • โปร่งใสเพราะมีการ Audit จากบริษัทด้านความปลอดภัยเสมอ
      • มีนักพัฒนาทั่วโลกพร้อมช่วยกันรายงานผลและแก้ไขช่องโหว่
      • มีนักพัฒนาปลั๊กอินเก่ง ๆ รวมไปถึงด้านความปลอดภัยให้คุณเลือกมากมาย ไม่จำกัดอยู่แค่กับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ความยืดหยุ่นมากกว่าในะระยะยาว
    • ข้อเสีย
      • ด้วยความโปร่งใส เลยมีข่าวช่องโหว่เยอะกว่าแพลตฟอร์มอื่น (ตามจริงแล้วเป็นปกติของซอฟต์แวร์)
      • ด้วยความมีชื่อเสียงและคนใช้เยอะ จึงมีผู้ไม่ประสงค์ดีเยอะตามไปด้วย
      • ช่องโหว่ส่วนใหญ่มาจากตัวปลั๊กอินที่ไม่มีคุณภาพหรือถูกทิ้งร้าง
      • ต้องคอยดูแลด้านความปลอดภัยเอง
  • Webflow: Webflow มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยในตัว เช่น SSL ซึ่งนับว่าดีไม่น้อย โดยจากข้อมูลที่เว็บไซต์เผยบนเว็บไซต์มีทั้งหมด 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ความปลอดภัยด้านสารสนเทศ, มาตรการความปลอดภัยภานในบริษัท และความปลอดภัยด้านแอพพลิเคชั่น ตามไปอ่านเต็มได้ที่ลิงก์นี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจไม่เปิดเผยช่องโหว่หรือข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่มีอยู่เสมอไปเพื่อปกป้องชื่อเสียงหรือลดภาระในด้านงาน PR ครับ ความโปร่งใสเลยน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโมเดล open-source (ซึ่งเป็นธรรมชาติของ Closed-Source Software)
  • สรุป:

ความง่ายในการใช้งานหลังบ้านของเว็บไซต์

Child is playing with multi-colored blocks
  • WordPress: WordPress มีการปรับแต่งแบบอิสระซึ่งมาพร้อมกับสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้เพิ่มหน่อยเพื่อใช้งานเบื้องต้น (Learning Curve) ในขณะที่ธีมและปลั๊กอินส่วนใหญ่ก็ทำมาให้ใช้งานง่าย ฉะนั้นหากให้ผมบอกว่า WordPress ง่านในการใช้งานไหมก็ต้องบอกว่าแบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ ไม่ง่ายถ้าคุณไม่อยากเรียนรู้เลย แต่ถ้าคุณพร้อมเรียนรู้หรือมีทีมที่พร้อมเรียนการใช้งาน WordPress มีสอนวิธีการใช้งานที่ดีมากและหาได้ทั่วอินเทอร์เน็ตเลยครับ
  • Webflow: ถ้าคุณอยากหลีกเลี่ยงการเขียนโค้ดไปเลย Webflow คือทางออกที่ดีครับ หน้าตาและอินเทอร์เฟซที่ใช้งานได้ง่ายทำให้ผู้เริ่มต้นเข้าถึงได้มากขึ้น แค่อย่าลืมว่าคุณจะไม่ใช่เจ้าของเว็บไซต์ของคุณแบบ 100% (เพราะขึ้นตรงกับ Ecosystem ของแพลตฟอร์ม) และบางอย่างที่คุณอยากทำอาจจะไม่มีสอนมากนอกเหนือจากของ Webflow เอง
  • สรุป:
    • เลือก WordPress ถ้าพร้อมเรียนรู้เพิ่มเติมหรือมีทีม
    • เลือก Webflow ถ้าอยากเริ่มใช้งานให้ง่ายที่สุด

ความสามารถในการขยายตัวของเว็บไซต์บริษัท

A group of people and money dollars on the scales.
  • WordPress: ด้วยระบบ Ecosystem ของปลั๊กอินที่กว้างขวางทำให้ WordPress ได้เปรียบอย่างมากในแง่ของการขยายตัว ไม่ว่าคุณจะต้องการเปลี่ยนเว็บไซต์ของคุณให้กลายเป็นจักรวรรดิ E-commerce, เป็น Community สมัครสมาชิกได้ หรือแม้แต่โซเชียลมีเดียของคุณเอง WordPress ก็สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงของคุณได้
  • Webflow: การขยายขนาดด้วย Webflow ขึ้นอยู่กับแผนที่คุณจ่าย มันเหมาะสำหรับเว็บไซต์แบบคงที่ขนาดเล็กหรือบล็อก แต่ถ้าคุณมีทราฟฟิกเยอะ มีเนื้อหาแบบไดนามิก หรือฟีเจอร์เฉพาะทางสูง คุณอาจเริ่มเจอข้อจำกัดบ้างพร้อมราคาที่แพงขึ้นซึ่งไม่สามารถเลือก Hosting อื่นได้นอกจากของ Webflow เอง
  • สรุป:
    • เลือก WordPress ขยายฟีเจอร์ได้ไม่จำกัด เรื่องผู้ให้บริการตามงบและการใช้งานได้
    • เลือก Webflow จะมีข้อจำกัดเมื่อขยายตัวรวมถึงค่าใช้จ่ายที่ปรับตามนโยบายของ Webflow (การประกาศขึ้นราคา 44% ในปี 2022)

การลงทุน / ราคาค่าทำเว็บไซต์

black Wallet placed on a white background
  • WordPress: ตัวซอฟต์แวร์ WordPress เองนั้นฟรีเพราะเป็น Open Source แต่คุณจะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายใน Hosting, ปลั๊กอินพรีเมี่ยมที่ต้องใช้ และค่าจ้างของการทำหน้าเว็บไซต์คุณภาพดี (หากจำเป็น) สุดท้ายคือค่าบำรุงรักษาและการดูแลในระยะยาวอาจรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยซึ่งขึ้นอยู่กับแผนงานที่เลือกใช้
  • Webflow: Webflow ใช้โมเดลการกำหนดราคาแบบ Subscription โดยมีค่าธรรมเนียมรายเดือนหรือรายปีตามประเภทแผนที่คุณเลือก ซึ่งรวมถึงการโฮสต์, ความปลอดภัย และฟีเจอร์การออกแบบ ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้นเมื่อเว็บไซต์ของคุณเติบโตและต้องการแผนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อจำนวนคนเข้าเว็บไซต์เกินโควต้าซึ่งในแพ็คสูงก็จะเหมาะกับลูกค้าระดับองค์กรมากกว่า แต่หากคุณเป็น SME ที่บังเอิญทำการตลาดดีจัดและคนเข้าเว็บล้นหลาม คุณอาจจะอยาก Host เองมากกว่าครับเพราะจ่ายไม่ไหว
  • สรุป: ค่าใช้จ่ายอาจไม่ต่างกันมากครับในระยะแรก ส่วนในระยะยาวแล้ว WordPress มีตัวเลือกให้คุณเลือกใช้ตามงบประมาณมากกว่าการโดนล็อคในแพลตฟอร์มของ Webflow

เราเพิ่งไปเจอทวีตของ CEO บริษัทซอฟต์แวร์การชำระเงินชื่อดังเจ้าหนึ่ง กล่าวถึงการใช้งาน Webflow บนทวิตเตอร์ส่วนตัว เขากล่าวว่า ทางเว็บไซต์ของเข้าได้มีการเข้าใช้งานจากผู้ใช้จน Bandwidth เกินโควต้าของแพลนที่ใช้อยู่และได้รับอีเมลแจ้งจากที่จ่ายอยู่แล้วที่ 276$/เดือน กลายเป็น 15,000$/ปีแทนซึ่งสร้างความประหลาดใจให้เขามาก ทวิตนี้ถูกลบไปแล้วแต่ยังสามารถตามอ่าน Reply ที่เขาตอบคนอื่นได้อยู่ครับ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเคสจากหลาย ๆ เคสที่ควรนำมาพิจารณาเมื่อเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Closed-Source ที่เราไม่ได้ควบคุมทุกอย่างได้ 100% เมื่อขยายตัวครับ

อัปเดตจากทางผู้เขียน

ความสามารถด้านการทำ SEO บนเว็บไซต์

Hand click computer mouse with text SEO on pink background
  • WordPress: ยืดหยุ่นในการทำ SEO สุด ๆ ต้องยกให้ WP เพราะมีปลั๊กอิน SEO โดยเฉพาะมากมายที่ให้คุณควบคุมได้ตั้งแต่ Meta Tag ไปจนถึงโครงสร้างเว็บไซต์ หลาย ๆ ปลั๊กอินมีคำแนะนำทีละขั้นตอน, มีการวิเคราะห์ และแม้แต่การทำงานอัตโนมัติ ทำให้ SEO เป็นเรื่องที่ผู้เริ่มต้นก็เข้าถึงได้และทำผลงานได้ดีไปอีกเมื่อรู้พื้นฐานการทำ SEO
  • Webflow: Webflow มาพร้อมเครื่องมือ SEO ในตัวสำหรับจัดการองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น Page title, meta description และ Auto XML Sitemap ซึ่งรวม ๆ แล้วก็เพียงพอสำหรับเว็บไซต์จำนวนมาก แต่ถ้าหากอยากทำ SEO สายเทคนิคหน่อยอย่างการทำ Schema Markup อาจจะต้องลงมือ Custom Code หน่อยนะครับ คงเลี่ยงการเขียนโค้ดไม่ได้
  • สรุป:
    • WordPress การทำ SEO สามารถปรับแต่งได้ทุกอย่างและง่ายกว่าในหลายส่วนขึ้นอยู่กับปลั๊กอินที่ติดตั้ง
    • Webflow ดีกว่าทุกประการเพราะมาแบบพร้อมใช้และครบเครื่องครับ เมื่อเทียบกับ WordPress ยังไม่ติดปลั๊กอิน แต่เมื่อไหร่ที่ติดปลั๊กอิน SEO แล้ว

การจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์

  • WordPress: ระบบการจัดการเนื้อหาของ WordPress มีความหลากหลายอย่างมาก รองรับเนื้อหาได้หลากหลายประเภท (Post, page และ custom post) และยังจัดระเบียบได้อย่างยืดหยุ่นด้วยหมวดหมู่และแท็ก ไม่ว่าคุณจะมีบล็อกแบบง่าย ๆ หรือเว็บไซต์ที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหา WordPress ก็รับมือได้หมด
  • Webflow: Webflow ใช้แนวทางการจัดการเนื้อหาแบบมีโครงสร้างที่เรียกว่า “Collections” วิธีนี้ใช้ได้ดีกับเนื้อหาตรงไปตรงมาและไม่ซับซ้อน แต่หากจะต้องจัดการเนื้อหาที่มีลำดับชั้น หรือมีหมวดหมู่ใหญ่และหมวดหมู่ย่อย ๆ ลงมา ยังทำไม่ได้ครับ
  • สรุป:
    • เลือก WordPress ถ้าต้องการจัดหมวดหมู่คอนเทนต์อย่างอิสระ
    • เลือก Webflow ถ้าไม่ต้องการจัดหมวดหมู่ซับซ้อน

การสนับสนุนและ Community เว็บ

Cinematic image of a conference meeting.
  • WordPress: หนึ่งในข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของการใช้ WordPress คือชุมชนที่ใหญ่โตและมีความแอคทีฟสูงมาก หากคุณมีปัญหา คุณสามารถหาคู่มือ, ฟอรั่ม/กลุ่มพูดคุย และบทเรียนออนไลน์จำนวนมหาศาลอย่างกับมหาสมุทร ต้องการความช่วยเหลือหรืออยากเชื่อมต่อกับผู้ใช้ที่มีประสบการณ์? เสิร์ชกลุ่ม Facebook ก็เจอปัญหาเดียวกันและวิธีแก้แล้ว

    Community ที่เราอยากแนะนำ ได้แก่ The Admin Bar (Community WP ที่ดีที่สุดในปี 2023), Dynamic WordPress, WPDevDesign, Bricks Community และ The Inner Circle (จ่ายเงิน)
  • Webflow: แม้ว่าชุมชนนักพัฒนาของ Webflow จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ลักษณะ Close Source อาจทำให้การหาแก้ปัญหายากกว่าของ WordPress และในหลายครั้งต้องรอทีมงานมาแก้ไขให้ ส่วนรีวิวซัพพอร์ทของทีมงานตามไปดูได้ใน รีวิว Webflow บน Trustpilot เลยครับ อีกข้อคืออาจจะหานักพัฒนาที่ชำนาญใน Webflow ได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับ WordPress ด้วยหากต้องการเปลี่ยนเจ้าเอเจนซี่ทำเว็บหรือดูแลเว็บให้คุณ
  • สรุป: ในข้อนี้ WordPress จะได้เปรียบกว่ามากด้วยธรรมชาติของซอฟต์แวร์ Open Source ครับ

การเชื่อมต่อเว็บไซต์กับซอฟต์แวร์ภายนอก

ตัวอย่างการทำ Marketing Automation อย่างอิสระจากหลังบ้าน WordPress ผ่าน Automator Plugin
  • WordPress: WordPress มอบการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นกับเครื่องมือยอดนิยมมากมาย ไม่ว่าคุณจะต้องการEmail Marketing, การผสานรวม CRM หรือเครื่องมือการวิเคราะห์ น่าจะมีปลั๊กอินหรือการเชื่อมต่อ API พร้อมใช้งานอยู่แล้วเป็นแน่แท้ เพราะ Documentation มีให้นักพัฒนาทั่วโลกเข้ามาศึกษาและเชื่อมซอฟต์แวร์ของตัวเองกับ WordPress ได้โดยง่ายครับ
  • Webflow: Webflow มีตัวเลือกการเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ของบุคคลที่ 3 จำกัดกว่า แม้ว่าจะมีการเพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังไงก็ครอบคลุมเครื่องมือทั่วไปได้เกือบครบถ้วนแล้วครับ แต่คุณอาจพบตัวเลือกน้อยกว่าสำหรับเครื่องมือเฉพาะทางหรือบริการเฉพาะกลุ่ม
  • สรุป: ในข้อนี้ WordPress จะได้เปรียบกว่ามากด้วยธรรมชาติของซอฟต์แวร์ Open Source ครับ
ตัวอย่าง 3rd Party Automation ที่มีให้บริการของ Webflow

ประสิทธิภาพและความเร็วเว็บไซต์

  • WordPress: เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจาก WordPress คุณจะต้องมีความรู้และให้ความสำคัญกับผู้ให้บริการ Hosting, ประสิทธิภาพ Theme/Builder และ Plugin เป็นอย่างมาก และควรเชื่อม CDN เข้าช่วย ตัวเลือกเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อเวลาโหลดของเว็บไซต์ แม้ว่า WordPress จะมอบความยืดหยุ่น แต่ก็ต้องอาศัยความรู้ด้านการปรับให้เหมาะสมพอสมควร
  • Webflow: เว็บไซต์ Webflow ออกแบบมาให้เร็วและมีประสิทธิภาพตั้งแต่แรก ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ Webflow จัดการให้ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประสิทธิภาพก็ทำให้โหลดเร็วได้
  • สรุป: ความเร็วสูงสุดสามารถทำได้เหมือนกันครับหากรู้วิธีการปรับแต่ง
    • ถ้าต้องการความยืดหยุ่นและตัวเลือกที่มากกว่า WordPress เป็นคำตอบที่เหมาะสมของคุณครับ
    • ถ้าเน้นง่าย เลือก Webflow เร็วแบบไม่ต้องทำอะไรมากครับ ในระยะยาวค่าใช้จ่ายและตัวเลือกจะจำกัดกว่า

ข้อจำกัด/ความยาก-ง่ายในการย้ายแพลตฟอร์มเว็บไซต์

  • WordPress: ทุกอย่างบนเว็บไซต์ WordPress ที่คุณพัฒนามาเป็นของคุณ (100% Data Ownership) จะย้ายไปโฮสต์ที่ไหนก็ได้, จะย้ายไปดูแลกับบริษัททำเว็บไซต์ไหนก็ได้ และจะย้ายข้อมูลไปต่อก็ทำได้เพราะพัฒนาด้วยภาษาทั่วไปอย่าง PHP และมีหลังบ้านคือ MySQL ส่วนความง่ายในการย้ายเว็บไปโฮสติ้งใหม่น่ะหรอครับ? ด้วยปลั๊กอิน Migration ดี ๆ ย้ายออกคลิกเดียว ย้ายเข้าคลิกเดียว ไปหมดทั้งเว็บ ไม่ต้องนั่งทำมือเลย!
  • Webflow: ข้อจำกัดของ Close Source แบบ Webflow เลยคือ ย้ายออกเท่าที่เขาให้ย้ายได้ครับ นอกนั้นต้องทำขึ้นมาใหม่ด้วยมือของคุณเอง คุณยังพอจะ export ข้อมูลอย่าง pages/posts, collections, products และอื่น ๆ เป็นไฟล์ CSV (ซึ่งไม่รวมดีไซน์ในหน้าที่ต้องปั้นใหม่เอาเองนะครับ) ส่วนรูปภาพและมีเดียอาจจะต้องนั่งโหลดเองด้วยน้ำพักน้ำแรง
  • สรุป:
    • เลือก WordPress ถ้าคิดว่าในอนาคตจะมีการขยับขยายหรืออยากได้ความยืดหยุ่นในการเลือกทางเดินเองในอนาคต
    • เลือก WebFlow หากมั่นใจว่าจะใช้ยาว ๆ ไม่เปลี่ยนแพลตฟอร์มหรือไม่เชื่อมต่อแพลตฟอร์มอื่น

แพลตฟอร์มไหนเหมาะกับขนาดธุรกิจของคุณ?

ธุรกิจขนาดเล็ก / งบประมาณต่ำ / ไม่มีผู้ดูแล

Startup small business entrepreneur SME, asian woman packing box. Portrait of young Asian small

ถ้าคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือเจ้าของที่ต้องการตัวตนออนไลน์แบบเรียบง่ายและอยากได้ประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อ Webflow ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ความเรียบง่ายในการใช้งาน และการไม่ต้องดูแลรักษาเลยทำให้มันเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

ธุรกิจขนาดกลาง

Business meeting in Asia

สำหรับธุรกิจขนาดกลาง คุณต้องชั่งน้ำหนักและสำรวจความต้องการในด้าน

  • ความยืดหยุ่น
  • การขยายตัวในอนาคต
  • การดูแลเว็บไซต์

ถ้าคำตอบคือ ความง่ายก็เลือก Webflow แต่หากกังวลเรื่องความยืดหยุ่นและอยากมีตัวเลือกที่เหมาะกับงบประมาณในอนาคตก็จิ้ม WordPress ได้เลยไม่ผิดหวังแน่นอน

กำลังมองหาการควบคุม / ความยั่งยืน / การรับมือพร้อมสำหรับอนาคต

Asian businesswoman standing holding a tablet looking up at the office.

ถ้าธุรกิจของคุณให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของเว็บไซต์และศักยภาพในการปรับแต่งอย่างเต็มที่ WordPress เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ความยืดหยุ่นของมันทำให้มั่นใจได้ว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถพัฒนาไปพร้อมกับการขยายตัวหรือปรับเปลี่ยนธุรกิจของคุณในอนาคต

องค์กรขนาดใหญ่

Business people having meeting in board room

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความต้องการที่ซับซ้อน การพัฒนา WordPress เองสามารถทำได้อย่างสมดุลและยืดหยุ่น องค์กรอาจต้องการ Integration ที่ไม่เหมือนใคร และการสร้างเว็บไซต์ให้เข้ากับ Workflow ภายในก็จะช่วยเพิ่ม Productivity และลดต้นทุนทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างมหาศาล

CMS เป็นเพียงเครื่องมือทำเว็บไซต์ที่ต้องเลือกให้เหมาะกับแบรนด์

โดยสรุปแล้วการเลือกระหว่าง WordPress และ Webflow ขึ้นอยู่กับความต้องการ, ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และขนาด/ขอบเขตของธุรกิจของคุณ จำไว้ว่าการทำเว็บไซต์ของคุณเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับความสำเร็จของธุรกิจ การลงทุนเวลาและทรัพยากรในการสร้างมันให้ดีที่สุดจะคุ้มค่าในระยะยาว

ASIAN MAN FIX CAR

เราหวังว่าการวิเคราะห์อย่างเจาะลึกพร้อมมุมมองของเราเกี่ยวกับ WordPress vs Webflow นี้จะสามารถตอบคำถามของคุณเพื่อตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะกับแบรนด์ได้อย่างมั่นใจนะครับ ถ้ามีคำถามเกี่ยวกับแพลตฟอร์มเหล่านี้ว่าจะนำมาทำเว็บไซต์บริษัทให้ตอบโจทย์ได้อย่างไร เรายินดีช่วยเหลือเพิ่มเติมครับ แค่ติดต่อหาเรามาได้เลย ขอให้สนุกกับการสร้างเว็บไซต์นะครับ!

แชร์คอนเทนต์ให้ทุกคนได้อ่าน

โพสต์อื่นที่น่าสนใจ