มองปัญหาการปิดลูกค้าบนเว็บไซต์และวิธีเร่งปิดการขาย

Website
May 1, 2024
Written for you by
S. Wirat, Managing Director
woman is showing credit card and using laptop for online shopping to purchasing product on website

สารบัญ

คุณเคยเปรียบเทียบข้อมูลผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์กับยอดขายในแต่ละเดือนไหมครับ? ถ้าเคย คุณคงสังเกตเห็นแล้วว่าต้องมีคนเข้าชมจำนวนมากกว่าจะขายได้แต่ละครั้ง (นั่นคือข้อมูล Conversion Rate นั่นเอง)

นี่ไม่ใช่เรื่องผิดปกตินะครับ เพราะลูกค้าเป้าหมายของคุณไม่ได้พร้อมที่จะซื้อสินค้าหรือบริการจากคุณทันทีทุกคน มีเพียงเปอร์เซ็นต์เล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นที่จะซื้อตั้งแต่แรก แล้วอะไรที่เป็นอุปสรรคในการขายล่ะ?

ในบทความนี้เราจะไขข้อข้องใจว่าทำไมผู้คนถึงยังไม่ตัดสินใจซื้อในวันนี้ และหารือกันว่าเราจะปรับปรุงยอดขายได้อย่างไรกันบ้าง

ผู้เข้าชมเว็บไซต์ยังไม่รู้เลยว่ามีปัญหาที่คุณช่วยได้!

ลูกค้าที่มีแนวโน้มจะซื้อจากคุณอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าพวกเขามีปัญหาที่ต้องการคำตอบ หากพวกเขายังไม่อยากแก้ไขอะไรก็คงยังไม่มองหาสินค้าหรือบริการอะไรที่มาช่วยได้

Hesitant confused woman spreads palms looks indignant feels unaware wears black dress raises eyebrow

ดังนั้นคุณต้องมั่นใจว่าได้สร้างเนื้อหาที่เหมาะสำหรับทุก ๆ ขั้นตอนของการตัดสินใจซื้อ (ในทางการตลาดเรียกว่าการสร้าง Sale Funnel) แต่หลายเว็บไซต์ที่เราเจอมา ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องแก้ไขซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมลูกค้าไม่ซื้อครับ ลองมาดูกันว่ามีปัญหาอะไรบ้าง?

ปัญหาใหญ่ ๆ ที่ทำให้คนยังไม่ซื้อบนเว็บไซต์ในทันที

เนื้อหาบนเว็บไซต์ไม่ดึงดูดความสนใจ

little adorable bored asian child drawing with pencil

วิธีที่รวดเร็วที่สุดที่จะทำให้คุณเสียลูกค้าไปคือการทำเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาที่ไม่น่าสนใจ ถ้าสิ่งที่คุณเขียนไม่เกี่ยวข้องกับผู้อ่านโดยตรง หรือไม่กระตุ้นให้พวกเขาอยากอ่านต่อ พวกเขาก็จะกดปิดหน้าเว็บไปในไม่กี่วินาทีแน่นอน นี่คือปัญหาเรื่องการสื่อสารบนเว็บไซต์ที่ไม่ได้ผ่านการวางแผนก่อนการทำเว็บไซต์ครับ

เว็บไซต์ให้ข้อมูลไม่เพียงพอทำให้ผู้ซื้อไม่เข้าใจสินค้า/บริการ

Asian student having question at training class

ลูกค้าบางส่วนอาจไม่ซื้อสินค้าเพียงเพราะพวกเขายังไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณเสนอ หากเว็บไซต์ของคุณยังไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายพอ พวกเขาอาจสับสนได้ง่าย และหันไปหาคู่แข่งเจ้าอื่นแทน

อย่าลืมว่าผู้เข้าชมไม่ได้มีความเชี่ยวชาญหรือเข้าใจเหมือนคุณ (ก็แน่ละ เพราะคุณอยู่กับสินค้า/บริการของคุณมาเป็นปี ๆ แต่ลูกค้าเพิ่งมาเจอ จริงไหมครับ?) ดังนั้นลองย่อยจุดแข็งและความโดดเด่นของสินค้าและบริการของคุณให้เข้าใจง่ายที่สุดและหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะในวงการ มุ่งเน้นให้พวกเขารู้สึกว่าคุณมีคำตอบที่ใช่สำหรับปัญหาของพวกเขา เอาให้ข้อความเคลียร์และชัดเจนบนเว็บไซต์

เว็บไซต์ไม่ได้ตอบคำถามที่สงสัย

Im lost

ไม่มีใครชอบความรู้สึกถูกเมินนะครับ หากลูกค้าไม่เจอคำตอบที่พวกเขาอยากรู้ พวกเขาก็ไม่อยากจะซื้อสินค้าอย่างแน่นอน คุณควรทำ FAQ (คำถามที่พบบ่อย) ลงบนเว็บไซต์ เพื่อให้ลูกค้าเป้าหมายเข้าถึงคำตอบได้ง่าย ๆ ที่จุดเดียว การทำเว็บไซต์ที่ดีควรมรการวางแผนในจุดนี้

เว็บขาดความน่าเชื่อถือ

testimonial, stars, web, company, man, win, consumer, product, scoring, business, positive, satisfac

ความไว้วางใจคือส่วนสำคัญของการขายนะครับ ผู้คนซื้อของจากแบรนด์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น เว็บไซต์คุณควรดูน่าเชื่อถือ โดยมีดีไซน์และแบรนดิ้งที่สวยงาม มีข้อมูลติดต่อชัดเจนและหาง่าย แค่คุณอัพเดตเรื่องปี Copyright ในส่วนท้ายของเว็บไซต์ให้เป็นปีปัจจุบันก็ช่วยให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นได้มากเลย (เขียนโค้ดบนเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนปีอัตโนมัติง่ายมากเลย)

แต่วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างความเชื่อมั่นคือการโชว์รีวิวดี ๆ จากลูกค้าที่พอใจอย่างเด่นชัด รีวิวช่วยแสดงให้เห็นว่ามีคนจริง ๆ ที่ซื้อสินค้าจากคุณแล้วมีประสบการณ์ที่ดี

เนื้อหาบนเว็บไซต์ไม่สอดคล้องต่อเนื่อง

cropped photo of young European businesswoman with notebook is sitting by the window. planning

บางครั้งลูกค้าอาจประสบการณ์ความไม่ลงรอยของเนื้อหาก็ได้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดมากเลยล่ะ อาจจะเห็นโฆษณาหรือโพสต์จากโซเชียลมีเดียของคุณที่สัญญาอะไรบางอย่างไว้ แต่พอกดเข้ามาก็พบกับหน้าที่ไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่ผ่านตามาได้เห็นเลย

เพราะฉะนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีความกลมกลืนระหว่างข้อความที่คุณโพสต์และเนื้อหาที่ผู้เข้าชมจะได้เห็นเมื่อเข้ามาในเว็บไซต์

ขั้นตอนง่ายๆ ที่ใช้ได้

  • ตรวจสอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้อย่างละเอียด (UX Design ) ดูว่ามีสิ่งใดที่ทำให้สับสนในเว็บไซต์บ้างแล้วควรรีบแก้ไขครับ
  • มีช่องทางแชที่ลูกค้าสามารถสอบถามแบบเรียลไทม์ได้เพื่อไม่ให้คำถามค้างคาใจ (Live Chat Support)
  • ทำการทดสอบ A/B ด้วยการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บแบบต่าง ๆ ดูว่าแบบไหนทำให้ลูกค้าเข้ามาดูนานที่สุด (A/B Testing)
  • รวบรวมคำติชมจากลูกค้าที่มาใช้งานเว็บไซต์แล้วนำมาพัฒนาปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Testing)
  • ศึกษาเว็บไซต์ของคู่แข่งดูว่าพวกเขาทำอะไรที่เป็นประโยชน์บ้าง แล้วนำมาปรับใช้กับเว็บของตัวเอง (Competition Analysis)
Team of ux ui designer mobile development experience app.

ยอดขายบนเว็บไซต์เกิดจากการทดลองและปรับปรุงเว็บอยู่เสมอ

การมียอดผู้เข้าชมจำนวนมากก็ไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้ยอดขายเยอะตามไปด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนอาจยังไม่รู้ตัวว่ามีปัญหาที่ต้องแก้หรือยังไม่เข้าใจสินค้าของคุณอย่างถ่องแท้

แต่มันมีหลายสิ่งที่คุณลงมือทำได้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์

  • ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและโดนใจกลุ่มเป้าหมาย
  • การตอบคำถามยอดฮิตที่มักถูกถาม
  • การแสดงรีวิวเชิงบวกจากลูกค้าจริง ๆ
  • การทดลองและปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้

หากทุกอย่างลงตัวคุณก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าแล้วเปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็นผู้ซื้อในที่สุด แล้วอย่าลืมสังเกตดูปฏิกิริยาของพวกเขา การบ้านของคุณคือการศึกษาเรื่อง Conversion Rate Optimization และ User Experience Design เพิ่มเติมเพื่อที่จะนำมาปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอครับ

แชร์คอนเทนต์ให้ทุกคนได้อ่าน

โพสต์อื่นที่น่าสนใจ