สร้างทรัพย์สินดิจิตัลของบริษัท แต่กลายเป็นภาระ?
แน่นอนว่าไม่มีใครชอบของที่ราคาแพง “แต่การจะหาของราคาถูกและดีก็เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร”
แคร์ดิจิตัล ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการหลายท่านและได้เข้าไปช่วยเหลือเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีของบริษัท จากประสบการณ์ของเรา ผู้ประกอบการหลายท่านควักกระเป๋าจ่ายเงินลงทุนในเว็บไซต์หวังจะให้เป็นหน้าบ้านที่ช่วยติดจรวดการตลาดดิจิตัลให้บริษัท แต่แล้ว..เว็บไซต์กลับประสบปัญหามากมายก่ายกองจนกลายเป็นภาระ
วันนี้เราอยากมาแชร์ข้อมูลวงในของการทำเว็บไซต์ให้คุณได้รู้ว่าทำไมแต่ละบริษัทรับทำเว็บไซต์ถึงมีราคาที่ต่างกันเหลือเกินและจะทำยังไงให้คุณไม่ผิดหวังในการลงทุนครั้งนี้
ยิ่งประหยัด ยิ่งต้องจ่ายมากกว่าเดิม
ก่อนอื่นเราขอยกตัวอย่างหนึ่งในเคสที่เราเพิ่งเจอมา (และเจอปัญหาคล้ายกันแทบจะทุกสัปดาห์) นี่คือเว็บไซต์ Listing หรือ Directory ของบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง เป็นเว็บไว้อัพโหลดทรัพย์สินที่บริษัทนายหน้านั้นมีให้ลูกค้าได้ดูและเข้ามาเลือกบ้าน/ คอนโดที่สนใจนั่นเอง
ลูกค้ามาหาเราเพราะว่าเอเจนซี่ทำเว็บไซต์เก่า ทิ้งเว็บกลางคันแล้วเงียบหายและอยากให้เราทำต่อ ประเมินจากหน้าตาคร่าว ๆ แล้วก็รู้ได้ว่านี่คือเว็บเทมเพลตสำเร็จรูปของ Wordpress ที่เขาซื้อมาทำต่อและเก็บเงินไม่ใช่น้อย
ปัญหาที่ต้องเจอแน่ ๆ ในการทำเว็บไซต์ต่อก็คือ
- คุณภาพของ Code ที่เขียนมา
ถึงแม้จะใช้ภาษาเดียวกัน แต่สไตล์และวิธีการเขียน Code นั้นมีวิธีการเขียนแบบปลายเปิด สิ่งที่โปรแกรมเมอร์คนหนึ่งเขียนอาจะเป็นโค๊ดที่รกเกินความจำเป็น แย่ที่สุดคือสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพหน้าบ้านได้ - ความปลอดภัยของ Code ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน
การสร้างออกมาเว็บไซต์หนึ่งที่มีฟังก์ชั่นมากมาย โดยเฉพาะการเป็น Directory ยิ่งฟีเจอร์เยอะ พื้นที่ในการโจมตีจากแฮคเกอร์ยิ่งมากขึ้น การทำ Security Audit จึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่งั้นหากโดนเจาะ ความรับผิดชอบจะตกอยู่ที่ผู้มารับช่วงต่อ (ยกเว้นทำสัญญาอย่างรัดกุมมาก) - ใช้เวลาในการพัฒนามากกว่าปกติ
เมื่อเป็น Code ที่ไม่ได้เขียนขึ้นมาเอง โปรแกรมเมอร์ต้องมานั่งแกะและศึกษาวิธีการเขียนเพื่อต่อยอดจากของเดิม ซึ่งส่งผลให้ใช้เวลานานกว่าเดิมมาก และแน่นอนงบประมาณที่ต้องใช้ย่อมสูง (สร้างเว็บไซต์ใหม่ราคาอาจถูกกว่าด้วยซ้ำไป)
สำหรับผู้ประกอบการที่จ่ายเงินลงทุนสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นหัวใจของการตลาดดิจิตัลของบริษัท คุณต้องไม่อยากเห็นหลังบ้านตอนที่เราได้รับบัญชีเพื่อเข้าไปประเมินสโคปงานแน่ ๆ
เลวร้ายกว่าที่เราคิดไว้มาก ! เว็บไซต์สำเร็จรูปที่เอเจนซี่นำมาทำให้ลูกค้านั่นประกอบด้วยปลั๊กอินจำนวนมหาศาล (ที่ไม่ได้รับการอัพเดทด้วย) และสัญญาณที่บ่งบอกว่าระบบที่พัฒนามาไม่มีประสิทธิภาพและข้อเสียอื่น ๆ คือ
- การที่ปลั๊กอินหนึ่งทำหน้าที่เดียวทำให้มีจำนวนปลั๊กอินเยอะกว่าความจำเป็นและมีการผสมปลั๊กอินจากหลายสำนัก (รวมถึงตัวที่หยุดพัฒนาไปแล้ว)
- ส่งผลให้เพิ่มพื้นที่ในการเจาะระบบจากภายนอกโดยไม่มีเหตุอันควร
- การใช้งานของบริษัทนายหน้าอสังหาฯ แห่งนี้ User จะหาอะไรเจอได้อย่างไรเมื่อมีเมนูและปลั๊กอินเยอะขนาดนี้
- Code ที่พัฒนามาแล้วรองรับการขยายตัวได้ไหมเมื่อมีทรัพย์สินเยอะขึ้น เพราะหลังบ้านยังดูวุ่นวายขนาดนี้
- การจัดการเรื่องความปลอดภัยอาจใช้งบไม่น้อยเลยต่อเดือน
- เอเจนซี่เก่าไม่ยอมให้ Access เข้าถึงเว็บไซต์ คุณไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนี้ (สู้กันอยู่นาน กว่าเราจะได้เข้ามาถึงหน้านี้)
นี่คือสิ่งที่พึงระวังในเว็บไซต์แบบ Listing หรือ Directory ของบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หรือเว็บไซต์ในรูปแบบ Web App ในลักษณะที่คล้ายกัน ด้วยความที่เว็บไซต์ของคุณคือหน้าบ้านที่ถูกเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต อะไรก็ตามที่ต่อเน็ตย่อมมีความเสี่ยงครับ และยังมีตัวอย่างจากหลาย ๆ เว็บที่เราได้มีโอกาสเข้าไปประเมินงาน ซึ่งเราไม่อยากให้คุณพบเจอกับเหตุการณ์อะไรแบบนี้เลย
เว็บไซต์ที่ดีควรมีต้นทุนเท่าไหร่กันนะ?
เว็บไซต์ที่ดีสามารถพาคนเข้ามาได้เป็นหลักพันหรือหมื่นต่อวันและปิดการขายได้ พร้อมสำหรับการขยายตัว แต่ถ้าหากเว็บไซต์ที่สร้างมาเกิดปัญหาจู้จี้จุกจิกยังกับรถมือสองอายุ 20 ปี คุณคงไม่อยากเพิ่มภาระเข้ามาเป็นแน่ ตอนนี้คุณอาจเริ่มสงสัยแล้วใช่มั้ยว่า แล้วการทำเว็บไซต์ที่ดีควรมีราคาเท่าไหร่ ? เราขอพูดถึงหัวข้อนี้ในบทความถัดไปเพราะเป็นเรื่องที่พูดได้อีกไม่น้อยเลยทีเดียว