ในเมื่อเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางการตลาดออนไลน์ของบริษัทที่สามารถให้ข้อมูลทุกอย่างของสินค้าและบริการแก่ลูกค้าได้อย่างครบถ้วนและสร้างรายได้มหาศาลแก่บริษัทต่าง ๆ (และใช่ครับ! คนยังใช้เว็บไซต์อยู่เพราะบริษัทยังคงทำ SEO และเราก็เสิร์ชหาข้อมูลกันผ่าน Google ยังไงหละ) แต่คุณเคยสงสัยไหมครับว่าเว็บไซต์มีอายุขัยนานเท่าไหร่กัน?
คำตอบซึ่งเรามั่นใจว่าคุณไม่อยากได้ยินแน่ ๆ คือ มันไม่มีคำตอบแน่นอนครับ
ซึ่งเราก็ไม่อยากตอบแบบนี้เลย แต่มันมีเหตุผลของมันครับ เราจะอธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้ดูว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
ด้วยความที่อายุขัยของเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างประเภทของธุรกิจของคุณจนไปถึงการแข่งขันในวงการธุรกิจนั้น ๆ ส่วนใหญ่ก็จะประมาณ 3-5 ปี บางเว็บไซต์ก็ได้แค่ปีเดียวก็ต้องเปลี่ยน บางธุรกิจเว็บอาจจะล้าสมัยไป 10 ปีแต่ยังสร้างรายรับให้อย่างต่อเนื่องก็มี
ปกติอายุของงานดีไซน์ก็จะมีวงจรชีวิตของมันครับ หรือที่คุณรู้จักดีก็คือ เทรนด์ นั่นเอง
ลองคิดภาพแฟชั่นยุคปี 2000 กับปีนี้ดูสิครับว่าต่างกันขนาดไหน ซึ่งหากเราลองมองที่ดีไซน์ของเว็บไซต์บวกกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ นี่ถือเป็น ‘โอกาส’ สำหรับเจ้าของธุรกิจเลยทีเดียว แล้วคุณจะประเมินอายุของเว็บไซต์คุณได้อย่างไร เรามีคำตอบให้ในบทความนี้ครับ
ทำไมเว็บไซต์ถึงประเมินอายุขัยได้ยาก
ธุรกิจที่เราอยากยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เว็บไซต์แบบ E-Commerce ในอดีต ถ้าธุรกิจของคุณอยากมีหน้าร้านของตัวเองในโลกออนไลน์ คุณก็จะสร้างเว็บขึ้นมาพร้อมกับหน้าสินค้าซึ่งแรกเริ่ม วิธีการจ่ายเงินเป็นแบบโอนผ่านธนาคารและต้องส่งสลิปเข้ามายืนยันการชำระเงินผ่านแบบฟอร์ม แต่พอในช่วงโควิด E-Commerce ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ระบบการชำระเงินดีขึ้น มีเจ้าใหญ่ ๆ กระโดดลงมาทำวิธีการชำระแบบผ่าน Payment Gateway ให้คุณโดยหักค่าธรรมเนียมกี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่ากันไป มันทำให้เว็บไซต์ของคุณต้องติดตั้งฟังก์ชั่น Payment Gateway เพิ่ม ส่งผลให้การใช้งานของลูกค้า (User Flow) เปลี่ยนไปทำให้คุณก็ต้องดีไซน์และพัฒนาเว็บไซต์ใหม่ให้ใช้งานง่ายและโดดเด่นท่ามกลางโอกาสครั้งใหม่นี้
นี่คือหนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า อายุขัยของเว็บไซต์ก่อนที่ต้องออกแบบเว็บไซต์ใหม่ มันไม่สามารถบอกได้แน่ชัดครับ ถ้าคุณทำเว็บตอนปลายปี 2018 กะว่าสัก 3-5 ปีค่อยปรับใหม่ แต่ 2019 วิกฤติโควิดก็สร้างโอกาสใหม่ให้กับ E-Commerce Website ถ้าคุณยังยึดแผนเดิมอยู่ คุณย่อมตกขบวนรถไฟและพลาดโอกาสทำกำไรในช่วงนั้นแน่ ๆ
ลูกค้าก็ฉลาดขึ้นและความอดทนน้อยลง พวกเขาไม่อยากใช้เว็บไซต์ที่ช้า ซึ่งโดยปกติแล้วเว็บไซต์ในรูปแบบ Dynamic (เว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนคอนเทนต์อยู่เสมอบนเว็บไซต์) ย่อมช้าลงตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป คุณย่อมเสียเปรียบหากเว็บไซต์คุณช้า ยกเว้นว่าคุณจะทำเว็บไซต์ใหม่หรือมีคนดูแลด้านประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ
อีกปัจจัยนั้นเป็นเทรนด์ด้านการดีไซน์โดยตรง อย่างเรื่องโทนสี (เช่น Pantone ที่ประกาศสีแห่งปีอยู่เสมอซึ่งมีอิทธิพลในวงการดีไซน์) หรือดีไซน์ฮิตประจำปีในขณะนั้น เช่น ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ดีไซน์แบบ Glassmorphism เริ่มได้รับความนิยมจนมาเป็นเทรนด์ดีไซน์ยอดฮิตในปี 2023-2024
หลักการประเมินอายุขัยเว็บไซต์แบบคร่าว ๆ
ถึงแม้เราจะคาดการณ์อายุเว็บไซต์ของคุณแบบชัดเจนไม่ได้ แต่เราสามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้ในการกำหนดว่าเว็บไซต์ของคุณถึงเวลาเปลี่ยนแล้วหรือยัง
- 3-5 ปีคืออายุขัยเว็บไซต์โดยเฉลี่ย คุณสามารถเก็บเลขนี้ไว้ในใจก่อนได้เลย
- ทุกปี ให้คุณลองประเมินว่าทิศทางของบริษัทในด้านต่อไปนี้ยังเหมือนเดิมหรือไม่
- ด้านดีไซน์: มีการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ขององค์กรของคุณหรือไม่ (Corporate Identity or Design Guideline) หรือคุณมีการ Rebranding หรือเปล่า
- สินค้า/บริการ: ไลน์โปรดัคส์ของคุณมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยขนาดไหน มีสินค้า/บริการไหนที่สามารถได้รับประโยชน์จาก Website Design หรืองานเขียน Copywriting ใหม่หรือไม่
- ดูจากข้อมูล: Data จากฝ่ายขาย ข้อมูลการตลาดว่ามีคนเสิร์ชใน Google ขนาดไหนหรือ Analytics ของเว็บไซต์กำลังส่งสัญญาณบอกคุณว่าถึงเวลาเปลี่ยนหรือยัง การทำเว็บไซต์ใหม่จะสามารถช่วยกระตุ้นยอดขายหรือคนเข้าเว็บไซต์ได้หรือไม่
- เปรียบเทียบกับคู่แข่ง: พวกเขาจับเทรนด์อะไรอยู่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดไปเมื่อไหร่ เพราะอะไร?
ด้วยขั้นตอนทั้ง 6 ข้อนี้ จะทำให้คุณสามารถประเมินได้ทุกปีว่า ถึงเวลาที่คุณต้องทำอะไรสักอย่างกับเว็บไซต์ของคุณอีกครั้งหรือยัง ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่การปรับงานเขียน การเพิ่มหน้าเว็บไซต์ใหม่ ไปจนถึงการพัฒนาเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมดพร้อมเทคโนโลยีใหม่
ทรัพย์สินออนไลน์ที่สำคัญที่สุดของคุณ
เราย้ำเตือนลูกค้าเสมอว่าเว็บไซต์คือทรัพย์สินการตลาดออนไลน์ที่สำคัญที่สุด เพราะมันคือศูนย์กลางการตลาดที่คุณควบคุมได้ด้วยตนเอง(Full Ownership) ให้ข้อมูลลูกค้าอย่างครบถ้วนที่สุด และเป็นช่องทางที่ทีลูกค้าเข้าใช้งานจำนวนมหาศาลต่อเดือนอยู่ครับ (ไม่ต้องเชื่อเราก็ได้ แต่ลองทำ Keyword Research คำทั้งหมดที่ลูกค้าค้นหาใน Google ต่อเดือนดูสิครับว่าคุณกำลังพลาดโอกาสการขายกับลูกค้าที่มีความต้องการอยู่แล้วจำนวนมหาศาลขนาดไหน!) วันนี้เราไม่อยากให้คุณพลาดโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโต ลองกลับไปดูเว็บไซต์ของคุณและประเมินตาม 6 ข้อที่เราแนะนำได้เลยครับ
ปล. หากคุณอยากรู้ว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถคว้าโอกาสอะไรได้อีกบ้าง เรามีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำ Keyword Research เพื่อดูว่าในเดือน ๆ หนึ่ง มีคนค้นหาคำที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณเยอะขนาดไหน (รวมแล้วอาจเป็นหลักหมื่นถึงแสนเลยทีเดียว) คุณสามารถดาวน์โหลดคู่มือ SEO ที่เราตั้งใจเขียนออกมาเพื่อให้คุณเข้าใจ SEO โดยอ่านจบแล้วเอาไปทำได้เลย ดาวน์โหลดที่นี่